เคยไปต่างประเทศ แล้วสั่งอาหารแบบกล้าๆ กลัวๆ ไม่รู้ว่า จะได้กินอะไรไหมครับ? บางครั้งก็อร่อย ถูกใจ บางครั้งก็แปลกใจ
ผมเคยสั่งเมนู "ปูผัดผงกระหรี่" ที่ภัตตาคารจีนในเซียงไฮ้ โดยจานที่เสิร์ฟมาทำให้ผมประหลาดใจไม่น้อย เพราะเป็น "ปูผัดน้ำขลุกขลิกสีส้มๆ คล้ายผงกระหรี่ (ไม่มีไข่ ต้นหอม พริกแดงอย่างที่คุ้นเคย)" แล้วชาวต่างชาติที่มารับประทานอาหารในร้านเราล่ะ ? เขาก็น่าจะรู้สึกไม่มั่นใจกับการแปลเมนูชื่ออาหารแปลกๆ ในเมืองไทยเช่นกัน
เราจะทำอย่างไร ให้ชาวต่างชาติรู้ได้ว่า "เขาจะได้กินในสิ่งที่เขาต้องการ"
ผมจึงนำเสนอสูตรการแปลเมนูอาหารที่เข้าใจง่าย เพิ่มยอดขาย ในเทคนิคที่ว่า
เทคนิคที่ 2 Key Ingredient โชว์ส่วนผสมเด่น อาหารจานนั้น
คือ การดึงส่วนผสมเด่นๆ 2-3 อย่าง เพื่อให้เมนูแปลเข้าใจได้ ลูกค้าได้รับตรงกับที่ต้องการ
คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงชื่อเมนูอาหาร สร้างความน่าสนใจ และความแตกต่างของร้านอาหาร ซึ่งชื่อเมนูหลายชื่อเรียกกันติดปาก (โดยอาจไม่รู้ที่มา) ถ้าเราแปลเมนูตรงๆ ตัว ตามชื่อ ก็จะได้ชื่อที่แปลกประหลาด
ดังนั้น ผมจึงแนะนำว่าควร แปลเมนูภาษาต่างประเทศ แบบสร้างสรรค์ โดยดึง เอาส่วนผสมหลัก Key Ingredient มาแปลในเมนู
แปลเมนู ตามเทคนิค Key Ingredient
เมนูภาษาไทย ที่เราคุ้นเคย |
แปลเมนู ภาษาอังกฤษ ตรงๆ |
แปลเมนู ภาษาอังกฤษ ด้วย Key Ingredient |
ไข่ลูกเขย | Sun-in-law Eggs | Boiled Egg with Tamarind Sauce (ไข่ต้มราดซอสมะขาม) |
ข้าวไข่ระเบิด | Bomb Eggs Rice | Deep-Fried Boiled Egg with Carrot, Onion Sauce with Rice (ข้าวไข่ทอด ราดแครอท ซอสหัวหอม) |
ไข่ตุ๋น | Poached Egg | Steamed Egg with Minced Pork and Spring Onion (ไข่ตุ๋นหมูสับใส่ต้นหอม) |
ยำหมูสะดุ้ง | Pork Shock Salad | Super Spicy Pork with Lime Salad (ยำหมู แบบเผ็ดมากๆ) |
ปลาลุยสวน | Fish Running in Garden | Fried Fish with Spicy Thai Mixed Herb (ปลาทอดราดน้ำยำสมุนไพรไทยแซ่บๆ) |
ปลาไหลต้มเปรต | Eels Boiled Jinn | Eels with Sour & Spicy Soup (ต้มปลาไหลรสเผ็ดเปรี้ยว) |
ลาบเลือดหมู |
Pork Blood Lab | Spicy Pork Herbs Salad with Blood Sauce (ลาบเลือดหมูรสเผ็ดจัดจ้าน) |
ถ้าคุณเป็นทีมงานการตลาดรับหน้าที่แปลเมนู หรือ Graphic Designer ช่วยในการออกแบบบเมนู อาจทำให้เราไม่ทราบรายละเอียดส่วนผสมหลักของอาหารจานนั้นที่เรากำลังจะแปลเมนู ดังนั้น การสอบถามเจ้าของร้านหรือ พนักงานในร้านสักหน่อย ก็จะช่วยให้คุณแปลเมนูได้น่าสนใจมากขึ้น
ในกรณีที่อาหารนั้น มีวัตถุดิบหลายๆ อย่างผสมกัน เช่น ผัดโป๊ยเซียน (ผัดผสม 8 อย่างรวมกัน แปลชื่อได้ว่า 8เซียน) ซึ่งหากจะให้แปลเมนูโดยเขียนชื่อวัตถุดิบทั้ง 8 อย่าง ทางฝรั่งคงงง ว่า "อะไรเยอะแยะไปหมด จะกินได้ไหม?"
ดังนั้น ให้ดึง ส่วนผสมที่น่าจะเด่น มีราคาสูง มี Value สัก 2-3 อย่างและนำมา แปลเป็นชื่อเมนูอาหาร (แต่ละร้านอาจไม่เหมือนกัน ถ้าจะใช้ google แปลก็ระวังหน่อย!)
Thai Style 泰式 สร้างคุณค่า แปลเมนู
"ปูผัดผงกระหรี่" ที่ผมเล่าข้างต้น เป็นการผัดแบบสูตรโบราณ ก่อนที่ร้านอาหารในเมืองไทยจะมีการสร้างสรรค์ เพิ่มไข่เป็ด ใส่น้ำมันพริกเผา ต้นหอม พริกแดง ซอสต่างๆ จนกลายเป็น "ปูผัดผงกระหรี่ที่เข้มข้น อร่อยถูกปากคนไทย และโด่งดัง"
เพื่อให้คนจีนเข้าใจ ว่า "ปูผัดผงกระหรี่" ที่จะได้ในเมืองไทยนั้นแตกต่างจากที่เมืองจีน ผมจึงแนะนำการแปลเมนูได้ 2 อย่างคือ
- เพิ่ม "ไข่" เข้าไปหลัง "กระหรี่"
- เพิ่ม "Thai Style / 泰式" เข้าไปด้านหน้า
ชื่อเมนูภาษาไทย ที่เราคุ้นเคย | แปลเมนูภาษาอังกฤษ โดยเพิ่มส่วนผสมเด่น |
แปลเมนูภาษาจีน โดยเพิ่ม Thai Style 泰式 สร้างคุณค่า |
ปูผัดผงกระหรี่ | Thai Style Stir-fried Crab with Curry powder and Eggs | 泰式咖喱粉炒蟹 |
*ผมเคยเห็นหลายร้าน แปลเมนูปูผัดผงกระหรี่ เป็น Crab with Curry ซึ่งทำให้สับสนกับแกงกระหรี่ ที่เป็นอาหารประเภทแกง น่ะครับ
อย่างที่เรารู้น่ะครับ นอกจากฝรั่งที่ชอบอาหารไทย คนจีนเองก็คลั่งไคล้อาหารไทยด้วย ดังนั้น ถ้าเราคิดอะไรไม่ออก ไม่รู้จะแปลเมนูชื่อแปลกๆ อย่างไร เพียงใส่คำว่า Thai Style / 泰式 เข้าไปด้านหน้า อาหารจานนั้นจะดูแพง ดูดี ขึ้นมาทันที!
คนจีนชื่นชอบ ชานมรถเข็นของไทยมากๆ แปลเมนูนี้ง่ายมากๆ เป็น 泰式奶茶 Thai Style Milky Tea (ชานมแบบไทย)
นอกจาก เทคนิคแปลเมนูอ่านง่าย เพิ่มยอดขาย ด้วย เทคนิค Key Ingredient ที่ช่วยให้แปลเมนูชื่อแปลกๆ ได้แล้ว ผมยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Google Translate แปลเมนูให้ทรงพลัง ได้เมนูแปลที่อ่านแล้ว ฝรั่งเข้าใจ จีนชอบ ด้วยเทคนิค Re-check เช็คชื่อ ตรวจภาพ กับโลกเสมือน คลิ๊กเลย!